Sunday, January 14, 2007

การแก้ปัญหาการเลือกตั้ง สว.

แก้ปัญหาการเลือกตั้ง สว โดย Campaign “Vote Distribution”

เขียนเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2006

สถาณการณ์ในกทม การเลือก สว ต่างจากที่อื่น เพราะมี สว ได้หลายๆ คน คนที่จะได้รับเลือกคือ ได้คะแนนตามลำดับ

คนสมัคร สว นั้น มีอยู่ สี่แบบ
หนึ่ง คนดีและดัง
สอง คนดีแต่ไม่ดัง
สาม คนเหี้ยและดัง
สี่ คนเหี้ยและไม่ดัง

ปัญหาของโจทย์นี้คือ การได้รับเลือกตั้งไม่ได้อยู่ที่การเป็นคนดี แต่อยู่ที่การเป็นคนดัง ดังนั้นคนที่ได้รับเลือกตั้ง คือคนดีและดัง กับคนเหี้ยและดัง แต่ก็แน่นอนว่า ถ้าสังคมเรายังเป็นสังคมที่มีความดีมากกว่าความเลว (โดยเฉพาะสังคมที่เข้าถึงข่าวสารได้มากกว่าเช่นในกรุงเทพ) ถ้าว่ากันตามจำนวน คนที่เลือก คนดีและดัง ต้องมากกว่าคนเหี้ยและดังแน่ๆ

ไอ้พวก เหี้ย และไ่ม่ดัง ไม่ต้องไปสนใจมัน เพราะมันได้เสียงน้อยอยู่แล้ว

แต่ปัญหาคือ ทำไงจะให้คนที่ดีแต่ไม่ดัง จึงจะได้รับเลือกเข้ามาด้วย

วิีธีการทางทฤษฎีก็คือ การสู้ด้วยการ แบ่งปัน vote ออกไป

เช่นสมมุติว่า ถ้ามีการทำ Survey ผลที่ออกมาอาจจะ เป็นดังนี้

คนที่ดีและดัง เช่น คุณกล้านรงค์ จันทิก (นอนมาแน่) อาจจะได้สัก 200,000 เสียง หรือ คุณรสนา โตสิตระกูล (อันนี้ดังข้ามคืน) อาจจะได้สัก 150,000 หรือ อาจารย์ ขวัญสรวง อติโพธิ์ อาจจะได้ 100,000 (ถ้าเลือกคนนี้ เหมือนได้ อาจารย์แก้วสรร มาด้วย) เป็นต้น

คนที่เหี้ย และดัง เช่น สมัคร สุนทรเวช (เหี้ยสัดดดด)อาจจะได้สัก 30,000 หรือ พรเทพ เตชะไพบูลย์(อันนี้เหี้ยปานกลางถึงมาก ตามแต่โอกาส) อาจจะได้ 25,000 เป็นต้น หรือ ธนา เบญจาธิกุล (ทนายของคนเหี้ย ที่ฟ้องสนธิ+สโรชาร่วม สองพันล้าน) อาจจะได้สัก 20,000 ยังดีที่อาจารย์สุนีย์ (อาจารย์แม่_ง หรือ อี-หมด-ฟอร์ม ตามโฆษณา) ไม่ได้ลงด้วย ไม่งั้นก็อาจจะได้ เีสียงของพวกวิทยาลัยรัตนบัณฑิตอีกเป็นหมื่น

จะเห็นได้ชัๆ เลยว่า คุณกล้านรงค์ ได้เสียง มากมาย โดยที่ล้น ไม่ได้ต้องการมากขนานนั้น ก็ชนะอยู่แล้ว แต่คนแบบ พี่ บุญยอด สุชถิ่นไทย ที่มาจากผู้ัจัดการ เป็นคนข่าวที่แท้จริงจะเข้ามาเล่นการเมือง กลับเป็นคนที่ไม่มีใครรู้จัก อาจจะได้คะแนนสัก 5,000 จากการ Survey และ อาจารย์ ผกา สัตยธรรม อาจารย์สังคมที่เป็นอาจารย์ดีเด่นจากโรงเรียนสาธิตจุฬา(มีแต่เด็กสาธิตจุฬารู้จัก) อาจจะได้สัก 3,000 คะแนน หรือ นายวิทยา จังกอบพัฒนา ที่สมัคผู้ว่า กทม มา สี่ร้อยกว่ารอบแล้ว (สมมุติว่าเป็นคนดี แต่ไม่ดังละกัน) อาจจะได้สัก 500 คะแนน

ถ้าเป็นแบบนี้ ตารางคือ

กล้านรงค์ 200,000
รสนา 150,000
ขวัญสรวง 100,000
สมัคร 30,000
พรเทพ 25,000
ธนา 20,000
บุญยอด 5,000
ผกา 3,000
วิทยา 500


ที้นี้ ถ้าีมีการรวมตัวกันเป็น pack เพื่อหาเสียงร่วมกัน เอากลุ่ม คุณกล้าณรงค์ รสนา ขวัญสรวง มารวมกันแล้ว เอาสามคนนี้ pick อีก สามคนเป็นคู่หู ไปเลย

เอา สูงสุด คู่ตำสุด

กล้านรงค์ + วิทยา = 200,000 + 500 = 200,500
หารสองไป ได้คนละ 100,250 คะแนน

รสนา + ผกา = 150,000 + 3,000 = 153,000
หารสองได้ไปคนละ 76,500 คะแนน

ขวัญสรวง + บุญยอด = 100,000 + 5,000 = 105,000
หารสองได้ไปคนละ 52,500 คะแนน

ออกมาแล้ว อันดับจะเปลี่ยนทันที

กล้านรงค์ 100,250
วิทยา 100,250
รสนา 76,500
ผกา 76,500
ขวัญสรวง 52,500
บุญยอด 52,500
สมัคร 30,000
พรเทพ 25,000
ธนา 20,000

เห็นชัดๆ ว่าไอ้พวกเหี้ยและดัง ก็แพ้ได้ !!

แต่นั่นคือ ทฤษฎี ในการปฎิบัติจริง จะต้องมีวิธีการที่ ล้ำลึกเล็กน้อย ดังนั้น การนำทฤษฎีไปใช้ (Implementation) ก็คือ

1. ทำ Survey อย่างละเอียด ต้องหา ตัวเลขออกมาให้ได้ว่า จะมีสักกี่คนที่เลือกคุณ กล้านรงค์ เอาให้ได้ว่า ไม่ควร +- เกิน 5% เพราะเราควรจะได้ Number ออกมาที่เป็นจริง Survey ไปให้หมด ดูด้วยว่าคนเหี้ยและดังคนไหนจะเข้า แล้วจะ Mark เป็น Main Benchmark ที่จะต้องเอามันออกไป จากนั้นเอา คนดีและดัง กับคนดีและไม่่ดังมาเรียงอันดับกัน เพื่อ จับคู่

อธิบายปัญหาสู่สังคม ให้เข้าใจ ว่านี่คือปัญญา คนบางคนมี vote เกิน บางคนมี Vote ไม่พอ ให้คนเข้าใจ Concept ของปัญหาก่อน

จัด Campaign เป็น คู่ “เลือกคนนี้ ก็เหมือนเลือกผม” เอาไปด้วยกันทุกที่ เวลาหาเสียง คุณกล้านรงค์ เอาคุณวิทยาไป คุณรสนาเอาอาจารย์ผกาไป อาจารย์ขวัญเอาพี่บุญยอดไป

จัดทีม “ไ่ม่เอาคนเหี้ย” ไปกระจายข่าวทำลายชื่อเสียง พวกเหี้ย (จริงๆ ก็คือแฉมัน) ทำให้คะแนนพวกเหี้ย น้อยลงไปอีก

ต้องมี ทีม Survey Life ตลอดเวลา


ทั้งหมดนี้คือ แผนที่จะเอาคนดีเข้าสภาให้ได้ แต่่ว่า มันต้องใช้กำัลัง และคนเยอะ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ เวลา เราจะมีเวลาพอมั้ย

No comments: